Welcome To Science Experiences Management for Early Childhood''

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย

เรื่อง 
 ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย : ลำดวล  ปั่นสันเทียะ
มาหาวิทยาลัย ศรีนครินวิโร

ความสำคัญของการวิจัย
1. เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้กับครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
2. เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวทางการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
3. เป็นการส่งเสริมการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ความมุ่งหมายของการวิจัย

         เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. เมื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนทอดลองและหลังทดลอง

ประชากรที่ใช้ในการทดลอง

        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา อำเภอ เมือง  จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 15 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา อำเภอ เมื่อง  จังหวัด นครราชสีมา 
2.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เด็กปฐมวัยแสดงด้วยตนเองในการแสวงความรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ 6 ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการการงความเห็น ทักษะกระบวนการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น และทักษะการพยากรณ์ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมา
            2.1 ทักษะการสังเกต ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ็นและผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุประสงค์
ที่จะหาข้อมูลซึ้งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้โดยไม่ใส่ความคิดเหน็ไรลงไป

            2.2ทักษะการจำแนกประเภท มีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความต่างและความสัมพันธ์
โดยใช้เกณฑ์ที่ใช้ประสาทสัมผัสส่วนไดส่วนหนึ่งของร่างกาย

            2.3ทักษะการวัด ได้แก่ สายวัด ไม่บรรทัด และเครื่องมืออื่นๆ วัดปริมาณสิ่งของที่ต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง
            2.4ทักษะการลงความคิดเห็น หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการทดลองและการทำกิจกรรมต่างๆที่ไปสัมพันธ์ความรู้และประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อมูลสรุปหรืออธิบาย ปรากฏการณ์นั้นๆ
            2.5ทักษะการสื่อสารความหมาย หมายถึง การทดลองหรือการทำกิจกรรมอื่ๆมาจัดทำและเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาจัดให้มีความสัมพันธ์ให้ง่ายต่อการแปลความหมาย ในรูปแบบตาราง แผนภูมิ หนังสือและนิทรรศการ โดยทั้งหมดมีลักษณะตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนสามารถสือความหมายให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
            2.6ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นส่วนหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ซ้ำๆ จากความรู้ที่มีมาก่อน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ระยะเวลาการทดลอง

       การทดลองครั้งนี้ทำในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 ใช้เวลาในการทดลอง สัปดาห์ละ 4 วัน รวมทั้งหมด 8 สัปดาห์ เวลาในการทำกิจกรรมหรือจัดประสบการน์ในแต่ระวัยยึดยุ่นตามลักษณะกิจกรรมและความสนใจของเด็กโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงการเข้ามาจัดในกิจกรรมวงกลม

สรุปการวิจัย
          ภายหลังการสังเกตการส่งเสริมทักษะของการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมแบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กได้มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการการงความเห็น ทักษะกระบวนการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น และทักษะการพยากรณ์ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์


สรุปบทความ



บทความ

บทความเรื่อง 5แนวทางสอนคิดเติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่   ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ
"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

      ทั้งนี้การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบนอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ ข้อดังนี้สำหรับ ข้อ นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด
ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน"วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ




วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู


โทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครูเรื่อง    จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย

จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย

ชื่อหน่วยการเรียนรู้   "เสียงมาจากไหน"

     เสียง เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลางพลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหูและส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง 
     แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทำให้ได้ยินเสียงดังมากกว่าเสียงที่มีพลังงานน้อย 
     
     เสียง เป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ
   
                           เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม แต่ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่าจะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมากเสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อยจะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล
คำถามที่ครูใช้ถามเด็ก
              1.เสียงเกิดจากอะไร 
              2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง 
              3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร 
              4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร
กิจกรรม
              1.ครูและนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร

              2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น

              3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลาคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลาคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้าแล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น

               4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน)

               5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย )

               6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็นเสียงดนตรี
               7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง

                8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป



สื่อและแหล่งเรียนรู้
                                                      1.คำถามชวนคิด
                                                      2.ขวดถั่วเขียว 
                                                      3.เกลือ 
                                                      4.ยางรัดของ 
                                                      5.ตะปู 
                                                      6.ส้อมเสียง 
                                                      7.ขวดใส่น้า 
                                                      8.แก้วทรงสูง 
                                                      9.อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 
                                                      10.โทรศัพท์กระป๋อง
                                                     11.แบบฝึกหัด





บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทินครั้งที่16
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 2 ธันวาคม 2557
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ


        วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอวิจัยและบทโทรทัศน์ครู ตามที่ตนเองได้รับ รวมถึงอาจารย์จะซักถามเนื้อหาสำคัญของวิจัย เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม 



                                 





                             


                             
           ต่อมาอาจารย์ให้จับกลุ่มทำแผ่นประชาสัมพันธ์ในหน่วยที่ตนเองได้รับ มีหัวข้อในแต่ละหน้าดังนี้


หน้าปก ให้เขียนชื่อโรงเรียนและสัญลักษณ์สถานศึกษาของเรา
หน้าที่ 1 คำชี้แจง หน่วย....
หน้าที่ 2 เล่าสู่กันฟัง
หน้าที่ 3 ใส่เพลง คำคล้องจอง หรือนิทาน
หน้าที่ 4 เล่นกับลูก เป็นการใส่เกมเพื่อให้เด็กได้เล่นกับผู้ปกครอง โดยเกมที่ใส่จะต้องเป็นเกมทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่คณิตศาสตร์
หน้าที่ 5 สมาชิกในกลุ่ม
 การนำไปใช้


      นำความรู้จากวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนๆสรุปไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการคิดกิจกรรมให้กับเด็กๆ รวมถึงนำคำชี้แนะของอาจารย์ไปปรับใช้ในครั้งต่อๆไป และไปประกอบการเรียนรายวิชาอื่นๆ

 ประเมิน

ตนเอง : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนองาน มีคุยบ้างเล็กน้อย แต่พอถึงเวลาทำงาน                   ช่วยคิดและลงมือทำกับเพื่อนภายในกลุ่มได้ดี
เพื่อน : มีความพร้อมในการนำเสนองานทุกคน มีคุยบ้างเล็กน้อย พอถึงเวลาทำงานกลุ่มตั้งใจช่วยเหลือ              กันดี
อาจารย์ : มีคำชี้แนะที่ดีเสมอ มีคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละคนได้ดี

บันทึกอนุทินครั้งที่15


บันทึกอนุทินครั้งที่15
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 25  พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ 

กิจกรรมที่ 1
        - นำเสนอ สรุปวิจัยและโทรทัศน์ครู ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว  ดังนี้

1. เรื่อง การกำเนิดเสียง   ที่มา  โทรทัศน์ครู (นำเสนอโดย น.ส.ธิดามาศ  ศรีปาน)
    เสียงเกิดจากการสั่นของมวลเนื้อวัตถุ  เมื่อมวลเนื้อวัตถุถูกเคาะแล้วเกิดการสั่นสะเทือนจึงทำให้
    เกิดเสียงออกมาได้ยิน  การทดลองนี้เด็กได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือได้ทดลองคิด ฟัง และ สังเกต

2.วิจัยเรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
   ของเด็กปฐมวัย    (นำเสนอโดย  น.ส.วรรณิศา  นวลสุข)
        ใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
   ของเด็กปฐมวัย  มีทักษะพื้นฐานอยู่ในระดับกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ  หลังการใช้แผน
   เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด

3.สารอาหารในชีวิตประจำวัน   ที่มา  โทรทัศน์ครู  (นำเสนอโดย น.ส.พัชราภรณ์  พระนาค)
        ครูนำขนมและกับข้าวมาให้เด็กแต่ละกลุ่ม  บอกถึงประโยชน์ของอาหารว่า  อาหารของแต่ละกลุ่ม
   มีประโยชน์อย่างไร

4.เรื่อง ไฟฟ้ากับพืช   ที่มา  โทรทัศน์ครู  (นำเสนอโดย น.ส.สุนิสา  สะแลแม)
          สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้อง และให้เด็กได้สังเกตการเจริญเติบ
   โตของพืช  แล้วให้เด็กทำโครงการวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช  หลังจากที่เด็กได้ทดลอง
    แล้วมีสื่อ / อุปกรณ์ก็จะเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์

5.วิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีผลต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของ
เด็กปฐมวัย    (นำเสนอโดย  น.ส.ศิริวิมล  หมั่นสนธ์)
          แสง  คือ เรื่องราวที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรม ทั้งเรื่องแหล่ง
   กำเนิดแสง และการเดินทางของแสง  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น  การหักเห
   ของแสง  การสะท้อนแสง  แสงสี  และแสงกับการเจริญเติบโตของพืช

6.วิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมน้ำสมุนไพร
   (นำเสนอโดย  น.ส.อรชร  ธนชัยวนิชกุล)

กิจกรรมที่ 2

      อาจารย์จัดกิจกรรมให้ทำ  ขนม Waffle  โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ

ส่วนผสม

1.แป้งทำขนม  Waffle
2.ไข่ไก่  (Egg)
3.เนย  (Butter)
4.น้ำเปล่า  (Water)

ขั้นตอนการทำ

1.เทแป้งใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
2.ใส่ไข่  เนย น้ำเปล่า แล้วคนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
3.ตักแป้งแบ่งใส่ถ้วยเล็กที่เตรียมไว้
4.ทาเนยบนเตาแม่พิมพ์แล้วเทแป้งลงไป

รูปภาพในการทำกิจกรรม














การนำไปใช้  


       -  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการนำเสนอสรุปวิจัยและโทรทัศน์ครูไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กได้

      -   สามารถนำกิจกรรมทำขนม Waffle  ไปใช้ในการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้

      -    สามารถนำกิจกรรมไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนการเรียนการสอนได้


ประเมินผล  

 ตนเอง    ตั้งใจเรียนและสนุกกับการทำกิจกรรม ทำขนม Waffle เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการ
                            เรียนที่ น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ทั้งเรื่องเนื้อหาและปฏิบัติ 

 เพื่อน     เพื่อนๆตั้งใจเรียนและมีการเตรียมพร้อมในการนำเสนองานของตนเอง และให้ความ
                            ร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน 

 อาจารย์    คอยจัดหากิจกรรมที่น่าสนใจให้ทำอยู่ทุกๆสัปดาห์  และเพิ่มเติมความรู้ให้จากการ
                              นำเสนองานของนักศึกษา
TOP
Faded Red Hand Blue Bow Heart