Welcome To Science Experiences Management for Early Childhood''

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทินครั้งที่6
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 23 กันยายน 2557
เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ



เริ่มต้นด้วยการทำรูปยางกระดาษ
ถ้านำกิจกรรมนี้ไปสอนกับเด็ก เด็กจะได้สร้างผลงานด้วยตนเองตามทฤษฎี
Constructivism
เป็นปรัชญาการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อที่ว่าเด็กสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง

   
 อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอบทความตามเลขที่


เลขที่ 3 นางสาวนภาวรรณ กรุดขุนเทียน
นำเสนอเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ดและไก่
ผู้เขียน ครูลำพรรณี มืดขุนทด
เด็กเรียนรู้ผ่านนิทาน เรื่อง หนูไก่คนเก่ง มี 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเด็กร้องเพลงไก่และทำท่าทางประกอบอย่างอิสระ
ขั้นที่ 2 สนทนาตั้งคำถามกับเด็ก "อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร"
ขั้นที่ 3 ให้เด็กๆวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำพูดที่เด็กบอกลงภาพนั้นๆ


เลขที่ 4 นางสาวสุธาสินี ธรรมานนท์ (ดิฉัน)
นำเสนอเรื่อง สร้างแนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
ผู้เขียน ดร.เทพปัญญา พรหมขัติแก้ว
1.ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องรอบๆตัว
2.ออกไปหาคำตอบพร้อมๆกับเด็ก
3.เด็กเอาสิ่งนั้นมาตอบคำถามของเขาเอง ครูก็ช่วยเสริมเนื้อหาเข้าไป
4.เอาสิ่งนี้มาให้เพื่อนช่วยคิด
5.นำสิ่งนี้ไปเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์


เลขที่ 5 นางสาวนฤมล อิสระ
นำเสนอเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสะบาย


เลขที่ 7 นางสาวยุพดี สนประเสริฐ

นำเสนอเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร

เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย กิจกรรม ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย จะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร

          
ต่อมาอาจารย์ได้สอนเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อหลักๆ ดังนี้
1.                  ความหมายทักษะการสังเกต
2.                  ความหมายทักษะการจำแนก
3.                  ความหมายทักษะการวัด
4.                  ความหมายทักษะการสื่อสาร
5.                  ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
6.                  ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
7.                  ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
8.                  ความหมายทักษาะการคำนวณ                   

นำมายแมพที่ทำมาไปติดรอบๆห้อง อาจารย์ตรวจเช็คและบอกแนวทางการแก้ไข
การนำไปใช้

       สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอน และบทความที่เพื่อนนำเสนอ ไปประยุกต์ปรับใช้ในการเรียนการสอน การเขียนแผนในอนาคตได้

การประเมิน

ตนเอง : มีการเตรียมนำเสนอบทความเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
เพื่อน : มีความตั้งใจในการฟังเพื่อนนำเสนอ สามารถโต้ตอบคำถามกับอาจารย์ได้ดี
อาจารย์ : มีแนวทางการสอนใหม่ๆเสมอ มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำทุกอาทิตย์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

TOP
Faded Red Hand Blue Bow Heart